วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์  หมายถึง  เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำ สั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำจำกัดความว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่ เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์
การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ [ Analog Computer]
เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น
2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ [Digital Computer]
เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลัก แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 เท่านั้น โดยสัญลักษณ์ทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด เครื่องดิจิทัลคอมพิวเตอร์หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า คอมพิวเตอร์ กำลังได้รับความนิยมกันมากในขณะนี้ และพบเห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ได้แบ่งเป็น 5 ยุค ตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยี ดังนี้
1]. คอมพิวเตอร์ยุคแรก [อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2501]
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ ใช้กำลังไฟฟ้าสูง มีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน [Mark I], อีนิแอค [ENIAC], ยูนิแวค [UNIVAC]

2]. คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง [อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2506]
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ มีการสั่งงานโดยใช้ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่สามารถเข้าาใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

3]. คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม [อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2512]
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม [Integrated Circuit : IC] โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมาย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า โครงสร้างของคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อยๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่างๆ ทางด้านซอฟต์แวร์มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลายๆ อย่าง

4]. คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ [ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 - ปัจจุบัน]
เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก [Very Large Scale Integration : VLSI] เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่างๆ ได้ มีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสสำเร็จให้เลือกใช้กันมาก ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

5]. คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่างๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ [Artificial Intelligence : AI] ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้า และพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์

ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันบนพีซีทั่วไปนั้น แบ่งเป็น 2 แบบคือ IDE หรือ (E-IDE) และ SATA ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีรูปแบบและอินเทอร์เฟชในการติดต่อข้อมูลแตกต่างกันไป แต่ในตลาด ณ เวลานี้ ส่วนใหญ่เราจะเห็นในแบบ SATA และ SATA2 กันมากกว่า โดยที่ฮาร์ดดิสก์ในแบบ IDE ดูจะถูกลดบทบาทลงอย่างมาก เหตุผลมาจากที่แมนบอร์ดในปัจจุบันมีพอร์ตสำหรับ IDE เพียงช่องเดียว ซึ่งต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัว แต่ตัวหนึ่งก็ถูกใช้กับออฟติคอลไดรฟ์ไปแล้ว จึงเป็นเรื่องยากในการอัพเกรด ดังนั้นแล้วการใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA จึงเป็นทางเลือกที่ดูคุ้มค่าที่สุด ด้วยความเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนโรงงานจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา การเลือกซื้อจึงควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ
ความจุของฮาร์ดดิสก์
แม้ว่าความจุที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันจะมีมากถึง 1000GB หรือ 1Terabyte การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานและค่าใช้ จ่ายเป็นหลัก เพราะถึงแม้บางครั้ง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูงดูจะคุ้มค่ากว่าความจุที่ต่ำกว่าก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการใช้งานของคุณก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าอยู่ดีโดย ความจุก็มีให้เลือกตั้งแต่ 80/120/160/200/250/320/500/750 และ 1000GB ซึ่งเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
Harddisk
ความเร็วรอบสำคัญไฉน
สำหรับฮาร์ดดิสก์เดสก์ทอปมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 5400rpm/7200rpm และ 10,000rpm ซึ่งที่พบกันมากที่สุดจะเป็นแบบ 7200rpm ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงบและราคาไม่แพง แต่สำหรับ 10,000rpm นั้น ส่วนใหญ่จะพบบนฮาร์ดดิสก์รุ่นพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่องานบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น การเล่นเกม ทำกราฟิกหรืองานตัดต่อ ที่ต้องการความเร็วสูงในการเปิดไฟล์หรือการดึงไฟล์ข้อมูลเพื่อเรนเดอร์ดัง เช่นฮาร์ดดิสก์ Raptor จากค่าย WD หรือ Cheetah จากค่าย Saegate ด้วยความเร็วในการทำงานที่สูง จึงต้องใช้กระบวนการผลิตและวัสดุที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้มีราคาที่แพงพอสมควร
บัฟเฟอร์สำคัญมากเพียงใด
คำตอบคือ สำคัญมากทีเดียว ไม่ใช่เพียงกับการทำงานเฉพาะทางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเล่นเกม มัลติมีเดียและซอฟแวร์พื้นฐานทั่วไปอีกด้วย ด้วยการสำรองข้อมูลบางส่วนในการใช้งานเอาไว้ เพื่อที่จะเรียกใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น และแน่นอนว่ายิ่งบัฟเฟอร์สูงกว่าราคาก็จะกระโดดไปกว่า 20% เลยทีเดียวโดยผู้ใช้ทั่วไปอาจเลือกที่ระดับมาตรฐาน 8MB ก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าหากต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้น สำหรับเกมเมอร์หรือการตัดต่อ อาจเลือกเป็นรุ่น 16MB หรือ 32MB ก็ตอบสนองกับงานในหลายส่วนได้ดีทีเดียว
Average Seek Time
เป็นเวลาในการเข้าถึงข้อมูลโดยเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่ระบุมากับฮาร์ดดิสก์ทุกรุ่น โดยส่วนใหญ่สำหรับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 12-14ms แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงก็จะอยู่ที่ 8ms ตัวเลขดังกล่าวยิ่งน้อยยิ่งหมายถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วขึ้น
อินเทอร์เฟชบนฮาร์ดดิสก์
ในตลาดเวลานี้มีให้เลือก 2 แบบด้วยกันคือ IDE และ SATA (SATA150 และ SATA300) ส่วนนี้ก็คงต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม แม้ว่าในหลายการทดสอบฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มีความเร็วกว่า IDE เพียงไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่าเมนบอร์ดในปัจจุบัน มีพอร์ตสำหรับ IDE น้อยลง ทางเลือกที่เป็น SATA ก็ดูน่าสนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้การสายสัญญาณยังมีขนาดเล็ก จึงทำให้อากาศไหลเวียนภายในเคสได้ดียิ่งขึ้น
SATA
ฮาร์ดดิสก์แบบพิเศษ
นอกจากฮาร์ดดิสก์แบบพื้นฐานที่มีจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยังมีฮาร์ดดิสก์อีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้ผลิตจัดทำออกมาเป็นพิเศษ เพื่องานหรือความต้องการที่แตกต่างออกไป โดยมีตั้งแต่
ฮาร์ดดิสก์ที่มี NCQ หรือที่เรียกว่า Native Command Queuing ซึ่งข้อดีของฮาร์ดดิสก์ที่มีเทคโนโลยีนี้คือ การปรับปรุงการจัดเรียงข้อมูลและการอ่านข้อมูลแบบใหม่ โดยมองชุดข้อมูลที่เป็นแบบเดียวกัน รวมไว้ในจุดเดียวกัน จึงทำให้การอ่านข้อมูลมีความเร็ว ด้วยการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
ฮาร์ดดิสก์ประเภทสวยงาม ในแบบดังกล่าวนี้ Raptor X จากค่าย WD เป็นต้นแบบ ด้วยการผลิตให้ฝาด้านบนนี้ความใส จนมองเห็น Platter และ Spindle หมุนทำงานอยู่ เหมาะสำหรับเกมเมอร์หรือนักแต่งเคสที่ชอบความสวยงามแปลกใหม่แต่ราคาก็มหาโหด เช่นกัน
ฮาร์ดดิสก์สุดอึด ปัจจุบันมีงานหลายส่วนที่มักใช้คอมพ์ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องนี้เอง มีส่วนทำให้อายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์สั้นลง ดังนั้นแล้วจึงมีการออกแบบฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่า Enterprise หรือที่เรียกว่า 24/7 ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความทนทานสูง ใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยมีฮาร์ดดิสก์จาก WD ในรหัส RE และ Seagate Barracuda ES ทำตลาดอยู่
สุดท้ายจะเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะจุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ มีบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่มากถึง 32MB ซึ่งปกติจะมีเพียง 8MB หรือ 16MB เท่านั้น โดยมีในฮาร์ดดิสก์จากค่าย Seagate Barracuda 7200.11 ส่วนเรื่องราคาก็ไม่ถือว่าสูงมากนัก

วิธีตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้อย่างง่ายๆ
สามารถใช้โปรแกรม HD Tune ทดสอบประสิทธิภาพและความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ ด้วยการมอนิเตอร์ให้เห็นอย่างชัดเจน  หรือจะบริหารข้อมูลและไดรฟ์ได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ Manage ของระบบวินโดวส์ ด้วยการเมาส์ขวาที่ My Computer จากนั้นเลือกหัวข้อ Manage

การเลือกเมนบอร์ด

ปัจจุบันในตลาดมีเมนบอร์ดให้เลือกอยู่หลากรุ่นหลาย ยี่ห้อ แม้ในซีรีส์ที่เป็นชิปเซตเดียวกัน ยังถูกจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆมากมายโดยมีฟีเจอร์หลักที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ด้วยการออกแบบลูกเล่นต่างๆประกอบเข้าไป เช่นชุดระบายความร้อนคุณภาพของชุดคาปาซิเตอร์ดีไซน์ ไบออส และคุณภาพ จึงกลายเป็นจุดขายที่แต่ละค่ายนำมาเสนอ ดังนั้นการเลือกใช้ต้องพิจารณาจากรูปแบบ ฟังก์ชันการใช้งานรวมถึงคุณภาพและราคาที่เหมาะกับผู้ใช้เป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของซิปเซตที่มีอยู่มากมายให้เลือกใช้ การเลือกเมนบอร์ดสำหรับการใช้งานให้ถูกใจนั้นมีหลักที่ควรพิจารณา 4 ข้อคือ

ซีพียูและซ็อกเก็ต
สำหรับปัจจุบัน ทาง Intel นั้นยังคงใช้ซอก เก็ต 775 อยู่เช่นเดิมไม่ว่าจะเป็น Celeron D,Pentiun 4,PentiunD,Core2Duo ไปจนถึง Core 2 Extremeและ Core 2 Quad และให้สังเกตบัสของซีพียูที่นำมาใช้ว่าเป็น FSB 800,1066หรือ1333ซึ่งชิปเซตในแต่ละรุ่นก็จะมีการสนับสนุนต่างกันออกไป
ส่วนทางAMD นั้น ซ็อกเก็ต AM2 ยังคงเป็นมาตรฐานในการใช้งาน แม้ว่าจะมีซีพียูรุ่นใหม่อย่าง Phenom ที่เป็นแบบ QuadCoreวางจำหน่ายซึ่งจะใช้งานกับAM2+แต่ก็ สามารถนำมาใช้กับ AM2 ได้เช่นกัน เนื่องจากรูปแบบภายนอกไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าต้องการฟีเจอร์ที่ครบถ้วน ก็ควรจะต้องใช้เมนบอร์ดที่เป็นAM2+ซึ่งเวลานี้เริ่มมีวางจำหน่ายในตลาดกัน บ้างแล้วโดยซ็อกเก็ตAM2นี้ สามารถใช้งานร่วมกับซีพียูในซีรีส์ต่างๆ ของ AMD ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นSempron64,Athlon64,Athlon64X2และAthlon64FX
Mainboard
มีฟังก์ชันต่างๆ ครบถ้วนตามที่ต้องการหรือไม่
                ฟังก์ชันที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานไปจนถึงฟีเจอร์ต่างๆที่มีอยู่ในซิปเซต รวมถึงองค์ประกอบที่สำคัญของเมนบอร์ด ซึ่งประกอบไปด้วย

สล็อตของหน่วยความจำ แม้ว่าแนวโน้มราคาในตลาดจะตกลงมาพอสมควร เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่การเลือกแรมความสูงอย่าง2GBที่มีราคาสูงกว่า 1GBอยู่มากอาจเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลนัก หากต้องการใช้งานโดยทั่วไปดังนั้นแล้วการเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อตแรมที่มาก ถึง 4 ช่องแล้วเลือกแรมขนาด 1GBติดตั้งครั้งละ 1-2แถว และยังมีช่องสำหรับอัพเกรดได้ในอนาคต ก็ช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากทีเดียว

สล็อตสำหรับกราฟิกการ์ด สำหรับผู้ใช้โดยทั่วไปสล็อต PCI-Express X16 เพียงช่องเดียว ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานอยู่แล้ว แต่สำหรับคอเกม นอกจากต้องอาศัยการรีดพลังงานกราฟิกการ์ดได้ตั้งแต่ 2 การ์ดขึ้นไป พร้อมฟีเจอร์ SLI หรือ CrossFire ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นเกมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กราฟิกการ์ดในตลาดล่างและกลาง ล้วนแต่ถูกออกแบบให้ใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวได้ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะซื้อหามาใช้งาน พอร์ตสำหรับต่อพ่วงฮาร์ดดิสก์ หลาย คนให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล ดังนั้นแล้วการเลือกเมนบอร์ด ให้มีพอร์ตสำหรับรองรับฮาร์ดดิสก์ได้จำนวนมาก จะช่วยให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เมนบอร์ดหลายรุ่น ยังเพิ่มเติมฟังก์ชันพิเศษ ให้ผู้ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลได้ดีขึ้นด้วยคอนโทรลเลอร์สำหรับ การต่อพ่วง RAID 0,1,0+1,5JBOD ที่มีประโยชน์ทั้งการจัดเก็บข้อมูล ความเร็วและระบบปลอดภัย และข้อสังเกตหนึ่งก็คือ  ในปัจจุบันเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะให้พอร์ตต่อ IDE มาเพียงช่องเดียว  ดังนั้นมักจะเกิดปัญหากับผู้ที่อัพเกรดจากระบบเก่า ที่ส่วนใหญ่จะใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ดังนั้นการเลือกเมนบอร์ดที่มีคอนโทรลเลอร์พิเศษที่เพิ่มพอร์ต IDE มาเพิ่มเติมให้ก็จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้

PCI สล็อต หลายครั้งการที่เมนบอร์ด รุ่นใหม่ๆ ในตลาดติดตั้งสล็อต PCI มาให้น้อยลง กลายเป็นปัญหากับผู้ใช้ที่มีการ์ดต่อพ่วงจำนวนมาก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการติดตั้งระบบเสียและเน็ตเวิร์กจะถูกติดตั้งมาบน เมนบอร์ดอยู่แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่าหากเป็นการใช้งานระบบมัลติมีเดียหรือนำมาใช้ในการตัดต่อ แล้ว จำเป็นต้องมีการ์ดต่อพ่วงที่เสริมเข้ามามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ์ดตัดต่อ, การ์ดสำหรับ IEEE 1394/USB, การ์ดเสียง, ทีวีจูนเนอร์ ในบางครั้งมีการ์ด SCSII และการ์ดสำหรับการเพิ่มฮาร์ดดิสก์ หากมีสล็อต PCI เพียงสองสามช่องคงไม่เพียงพอ ดังนั้นแล้วหากจำเป็นต้องใช้งานในรูปแบบดังกล่าวควรเลือกเมนบอร์ดที่ให้มี สล็อต PCI มากขึ้น รวมไปถึงการมองรูปแบบอื่นที่เป็นทางเลือกมาเสริม เช่น USB หรือ IEEE1394

พอร์ต USB2.0, IEEE1394 นับ เป็นพอร์ตที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่มากมายเนื่องจาก ในเวลานี้ อุปกรณ์ส่วนใหญ่มักใช้พอร์ต USB ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้วยการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็วและใช้งานได้ง่าย สะดวก ไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิตอล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม พรินเตอร์ สแกนเนอร์ การ์ดรีดเดอร์ ทีวีจูนเนอร์หรือแม้กระทั่งฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก (External drive) ในบางครั้งการใช้งานที่บ้านหรือสำนักงานที่ไม่มีเครื่องส่วนกลาง คอมพิวเตอร์ส่วนตัวก็จะรับหน้าที่ในการต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ ไปโดยปริยาย ดังนั้นแล้วการเลือกเมนบอร์ดก็ควรจะให้มีพอร์ต USB ที่สามารถเพิ่มเติมจากมาตรฐานได้ ซึ่งดูได้จากพอร์ตต่อพ่วงในแบบ Expansion ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดนั่นเอง

ไบออสที่รองรับการปรับแต่ง สิ่งนี้ อาจไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ทั่วไป แต่สำหรับนักโอเวอร์คล็อกแล้วละก็ ไม่ควรมองข้ามทีเดียว เนื่องจากช่วยในการเร่งประสิทธิภาพซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นแล้วการเลือกเมนบอร์ดที่มีไบออสรองรับการปรับแต่งได้ ก็จะช่วยให้การปรับแต่ง สัญญาณนาฬิกา แรงดันไฟ ระบบบัส ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเสถียรภาพของระบบได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเตือนอุณหภูมิ การตั้งรอบพัดลม รวมไปถึงการปรับฟีเจอร์ต่างๆ ของซีพียู สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ทีเดียว

ชุดระบายความร้อน ในอดีตการระบายความร้อนบนเมนบอร์ดอาศัยแรงลมจากพัดลมซีพียูเป็นหลัก แต่ปัจจุบันปัญหาจากความร้อนของบรรดาอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้อายุการทำงานของชุดจ่ายไฟและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สั้นลง ดังนั้นแล้วผู้ผลิตหลายรายจึงให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นผู้ใช้ที่มักติดตั้งอุปกรณ์จำนวนมากไว้ภายในเครื่องหรือชอบการโอ เวอร์คล็อกควรเลือกเมนบอร์ดที่มีชุดระบายความร้อนที่ดีกว่าปกติ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของเมนบอร์ด แม้ว่าอาจจะมีราคาสูงกว่าอยู่บ้าง แต่นับว่าคุ้มค่ากับการใช้งานที่ยาวนานขึ้น คุณภาพของวัสดุและการออกแบบ
การออกแบบและวัสดุในการผลิต มีส่วนสำคัญอย่างมากกับการเลือกใช้เมนบอร์ด แม้ว่าจะเป็นไปได้ในการเข้าไปดูกระบวนการผลิตที่โรงงาน แต่ก็มีข้อสังเกตในหลายจุดที่ไปดูกระบวนการผลิตที่โรงงาน แต่ก็มีข้อสังเกตในหลายจุดที่ทำให้มั่นใจได้ ตั้งแต่เรื่องของแพ็กเกจของเมนบอร์ดที่ควรจะมีอุปกรณ์มาตรฐานเตรียมไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็น คู่มือ แผ่นไดร์เวอร์ ซอฟต์แวร์บันเดิล สายสัญญาณ รวมไปถึงชุดต่อพ่วงสัญญาณจากเมนบอร์ด ซึ่งควรจะมีรายละเอียดสำคัญของเมนบอร์ดอธิบายไว้ มีชุดระบายความร้อนให้กับชิปเซตหรือถ้าให้ดีก็ควรมีการระบายความร้อนให้กับ ภาคจ่ายไฟเพิ่มเติมเข้ามาด้วย และที่สำคัญคือ คุณภาพของคาปาซิเตอร์ที่ในปัจจุบันหลายค่ายเริ่มนำ Soild Capacitor ที่ทนต่อแรงดันไฟได้สูงมาใช้ ถึงแม้จะมีราคาที่แพงขึ้นอยู่บ้าง แต่ก็ให้ความคุ้มค่าในระยะยาวลดความเสี่ยงอันอาจเกิดกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่ ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดในกรณีที่มีการลัดวงจรหรือระเบิดได้อีกด้วย

ราคาและการรับประกันเป็นอย่างไรบ้าง
                เรื่องของการ รับประกัน ให้สอบถามรายละเอียดกับผู้จำหน่ายโดยตรง โดยเฉพาะกับเงื่อนไขที่สำคัญต่างๆ เนื่องจากมีหลายครั้งที่ผู้บริโภคไม่เข้าใจกับกฎเกณฑ์ที่ผู้จำหน่ายตั้งขึ้น จนเกิดเป็นปัญหา ดังนั้นแล้วเมื่อซื้อเมนบอร์ดทุกครั้งให้สอบถามข้อสงสัยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา เงื่อนไขความเสียหาย เคลมเปลี่ยนหรือเคลมซ่อม รวมถึงการตรวจสอบ Void Warranty การประกันที่ติดอยู่บนเมนบอร์ดให้ถูกต้อง ในส่วนของระยะเวลา เดือนปีที่รับประกัน แต่ผู้จำหน่ายบางรายติดเพียง Serial number ให้ลูกค้าตรวจสอบได้เองผ่านเว็บไซต์ของตนหรือแม้กระทั่งเช็กสถานนะเมื่อส่ง เคลมได้อีกด้วย
                ส่วนเงื่อนไขหลักของการรับประกันที่ใช้กันอยู่ทั่วไปคือ ไม่แตกหัก ไหม้หรือรอยขูดขีดที่ลึกถึงส่วนของสายพรินต์ ซึ่งผู้ใช้ควรจะต้องรับทราบในเงื่อนไขเบื้องต้นไว้เพื่อการระมัดระวังขณะติด ตั้ง
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชิปเซตของเมนบอร์ด
                Intel  X38 และ X48 เป็นชิปเซตสำหรับเพาเวอร์ยูสเซอร์ที่ต้องการศักยภาพและฟีเจอร์สำหรับการเล่น เกม และการทำงานโดยเฉพาะซึ่งออกมารองรับการทำงานร่วมกับซีพียูในรุ่น Core 2 Duo และ Core 2 Quad รวมถึง Core 2 Extreme ได้เป็นอย่างดี ด้วยการรองรับบัส 1333MHz, Multi-GPU ผ่านทาง PCI-Express X162 ช่อง สนับสนุนการต่อพ่วงฮาร์ดดิสก์แบบ RAID และใช้งานร่วมกับหน่วยความจำ DDR2/DDR1066 นับเป็นชิปเซตรุ่นใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อเอาใจผู้ที่ชอบความแรงโดยเฉพาะ
ส่วนทางผู้ใช้ซีพียู AMD ก็มีให้เลือกอยู่มากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น nForce 570 หรือ 590 SLI ที่มาพร้อมฟีเจอร์ สำหรับคอเกมโดยเฉพาะ ด้วยการสนับสนุนการต่อพ่วงกราฟิกการ์ดในแบบ SLI 16X ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานรองรับหน่วยความจำ DDR2 800รวมไปถึงการรองรับฮาร์ดดิสก์ในแบบ SATA2 ที่มาพร้อมฟังก์ชันการต่อพ่วงแบบ RAID
และล่าสุด Nvidia ได้เปิดตัวชิปเซตล่าสุดสำหรับรองรับซีพียูรุ่นใหม่ในแบบ Quad Core ภายใต้รหัส nForce 790FX, 770 และ 750 ช่วงปลายปี 2550 นี้ ซึ่งนับว่าเข้าสู่ซ็อกเก็ต AM2+ อย่างเต็มตัว โดยพัฒนาฟีเจอร์ให้รองรับกับซีพียูโครงสร้างใหม่ รวมถึงกราฟิกการ์ดในแบบ PCI-Express 2.0 และต่อพ่วงกันแบบ SLI รวมไปถึงสนับสนุนหน่วยความจำ DDR2 1066 ได้อีกด้วย จัดว่าเป็นชิปเซตรุ่นใหญ่และรุ่นกลางสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ร่วมกับซีพียู Quad Core จาก AMD
ตลาดกลางเน้นที่ฟังก์ชันการใช้งาน
                Intel 945P, 965P และ P35 ยังคงเป็นชิปเซตที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มค่าในการใช้งานโดย ทั่วไป ที่แม้ว่าจะเป็นชิปเซตรุ่นเก่า แต่ก็ยังมีฟังก์ชันที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานร่วมกับซีพียูได้ทั้ง Core 2 Duo และ Core 2 Quad รองรับหน่วยความจำ DDR2 800 สนับสนุนการต่อพ่วงกราฟิกการ์ดในแบบ Multi-GPU รวมถึงรองรับฮาร์ดดิสก์ SATA2 และยังต่อพ่วงกันในแบบ RAID ได้อีกด้วย นับเป็นชิปเซตที่มีความคุ้มค่าสูง อีกทั้งมีฟีเจอร์ไม่เป็นรองชิปเซตรุ่นใหญ่
สำหรับผู้ใช้ AMD ก็มีชิปเซตหลายรุ่นให้เลือกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น nForce 500 หรือ 550 แม้ว่าจะเป็นชิปเซตระดับกลาง แต่ก็ให้ประสิทธิภาพในการทำงานและการสนับสนุนอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ได้น่าประทับใจทีเดียว ทั้งการรองรับซีพียู Athlon64 X2, Athlon 64 และ Sempron ร่วมกับหน่วยความจำ DDR2 800 และมีสล็อตสำหรับกราฟิกการ์ด PCI-Express 16X รวมถึงระบบ RAID SATA 2

ตลาดล่างเน้นความประหยัดด้วยชิปอินทิเกรต
                สำหรับผู้ใช้อินเทลที่เน้นความประหยัด หรือชื่นชอบเมนบอร์ดที่มีทุกอย่างครบเครื่อง ทั้งเรื่องภาพและเสียงโดยชิปเซตทางอินเทลมีให้เลือกอยู่หลายรุ่นด้วยกัน ซึ่งใช้รหัส G ในซีรีส์ ไม่ว่าจะเป็น945G/965Gที่มีกราฟิกGMA900/950เข้า มารับหน้าที่ในการประมวลผลสามมิติ ซึ่งเน้นที่ความคุ้มค่าเป็นหลัก เนื่องจากรองรับ Core2Duonได้เช่นกัน แต่หากจะเลือกรุ่นที่ประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้วปัจจุบัน Intelก็มีชิปเซตในตระกูลใหม่มาให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น G33 และ G35 ซึ่งทั้งคู่เป็นสายเลือดเดียวกับ P35 และ X38 จึงรองรับกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการสนับสนุนหน่วยความจำ DDR2 800 และมี PCI-Express X 16 สำหรับกราฟิกการ์ดอีกด้วยโดยเมนบอร์ดในกลุ่มดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่ เป็นมาตรฐาน mATX
ชิปกราฟิกที่ติดมากับเมนบอร์ด
                GMA900/950/x3000ติดตั้งอยู่บน Intel 945G และ965G มีความเร็วในการทำงานGPU 250-400MHz และแชร์หน่วยความจำได้สูงสุด 224MB
X3100ถูกติดตั้งอยู่บน Intel G31/G33 มีความเร็วสัญญาณนาฬิกา 500MHz และแชร์หน่วยความจำได้ถึง 384MB
จุดเด่นของชิปเซตกราฟิกอินทิเกรตของทาง Intel จะอยู่ที่การแชร์หน่วยความจำแบบ Dynamic (DVMT) โดยระบบจะดึงหน่วยความจำหลักมาใช้เฉพาะที่จำเป็นนั้น ไม่เก็บเป็นการถาวร ดังนั้นจึงทำให้ระบบหลักก็จะไม่เสียประสิทธิภาพไปต่างจากการแชร์ในอดีต ที่จะดึงมาใช้เป็นการถาวร
แต่สำหรับผู้ใช้ซีพียูจาก AMD มีให้เลือกมากมายทีเดียวไม่ว่าจะเป็นค่าย VIA,nVIDIAหรือ ATIก็ตาม แต่รุ่นที่ได้รับความนิยมและพบเห็นกันได้บ่อย ประกอบไปด้วย GeForce6100/6150และล่าสุด GeForce 7150 จากค่าย nVIDIAส่วนอีกค่ายคือ AMD690G โดยทั้ง4 รุ่นถือว่าเป็นเมนบอร์ดสุดคุ้มสำหรับผู้ใช้ AMD เลยทีเดียว โดยเฉพาะกับGeForce 6100และ6150จัดว่าเป็นรุ่นที่ใช้กราฟิกประสิทธิภาพสูง แต่มีสนนราคาที่คุ้มค่า
แต่สำหรับ 690Gนั้นก็จัดว่าเป็นชิปเซตน้องใหม่มาแรงด้วยคุณภาพที่ออกแบบมาเพื่อผู้ที่ ต้องการเมนบอร์ดกะทัดรัดแต่มีฟีเจอร์ สำหรับความบันเทิงอยู่อย่างครบครันไม่ว่าจะเป็นกราฟิกคอนโทรลเลอร์ Xpress 1200 ประสิทธิภาพสูงและเมนบอร์ดบางรุ่นยังพกพาเอาความสามารถในด้านการสนับสนุน HDMI เพื่อใช้ต่อพ่วงกับจอแสดงผลในแบบ Hi –Def ได้อีกด้วยในราคาที่สบายกระเป๋าเลยทีเดียว

การเลือกซื้อซีพียู

การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก
ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด
ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และต้องการความประหยัด รวมถึงการใช้งานพื้นฐานทั่วไป ตั้งแต่ซอฟแวร์สำนักงานสเปรดซีต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต  ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลซับซ้อน และส่วนใหญ่จะประกอบเป็นพีซีในราคาประมาณ 10,000-15,000 บาท โดยซีพียูในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีหลายรุ่นด้วยกัน ได้แก่ Celeron D/ Celeron –L/Pentium 4 จากค่าย Intel และ Sempron64/Athlon64จากทาง AMD ด้วยสนนราคาตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท แต่ในกรณีที่มีงบประมาณสูงขึ้น Pentium Dual Core Athlon 64X2ก็นับเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากทีเดียวในขณะนี้
ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
Celeron D 420:1.60GH,512KBL2,800MHz,Socket775 ราคา1,300บาท
Athlon 64LE-1600:2.20GHz,102KBL2,SocketAM2ราคา1,750 บาท
Pentium Duo Core E2140:1.60GHz,1024KB L2,800MHz bus,Socket775 ราคาประมาณ 2,550 บาท

กลุ่มนักเล่นเกมตัวยง
ในกลุ่มของนักเล่นเกม แม้ว่า ณ วันนี้กราฟิกการ์ดจะเข้ามามีบทบาทมากก็ตาม แต่ลำพังเพียง  GPU  (Graphic Processing Unit) ไม่ได้ทำให้ภาพโดยรวมที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นเกมได้สมบูร์เนื่องจากหากขาดซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงไปแล้ว การประมวลผลในด้านของการสร้างองค์ประกอบต่า                ๆภายในภาพและการคำนวณพื้นผิวและสร้างโพลิกกอนก็จะลดลง ซึ่งอาจเกิดอาการกระตุกของภาพ ดังนั้นแล้วซีพียูย่อมเข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับนักเล่นเกมที่เน้นความสวย งามและความต่อเนื่อง โดยในตลาดเวลานี้ก็มีซีพียูอยู่หลายรุ่นด้วยกันที่ช่วยให้การเล่นเกมมี อรรถรสมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูจากค่ายอินเทลที่ประด้วย  Core 2Duo ในรหัส E4xxx,E6xxx และE8xxxรวมถึง Core2Extreme สำหรับค่ายAMD ก็มีให้เลือกทั้ง Athlon 64X2 และAthlon64FX
ซีพียูที่น่าสนในกลุ่มนี้
Intel Core 2 Duo E6550 :2.33GHz,4MBL2,13333MHz bus,Socket775,ราคาประมาณ 6,000 บาท
Athlon64X25000+:2.60GHz.512KBx2L2,SocketAM2,ราคาประมาณ4,400 บาท
Athlon64FX-62:2.80GHz,1MBx2L2,SocketAM2, ราคาประมาณ 12,000 บาท
cpu
ข้อสังเกต
ซีพียู่ในกลุ่มของ Core 2 Duo จะมีให้เลือก 2 รูปแบบในซีรีส์เดียว ตัวอย่างเช่น E6850 ซึ่งทั้งคู่จะมีความคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียงระบบบัสที่เปลี่ยนจาก 1066MHz มาเป็น 1333MHz แต่ปัจจุบันจะมีเพียง E6550/E6750 และ E6850 ที่จำหน่ายอยู่เท่านั้น

การใช้งานกราฟิกเป็นหลัก
ในบรรดากลุ่มผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยกันนั้น กลุ่มของงานกราฟิกและการตัดต่อ นับเป็นกลุ่มที่ต้องการศักยภาพในการทำงานสูงสุด เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นระบบการเข้ารหัสไฟล์วิดีโด การตัดต่อภาพ การเรนเดอร์ออปเจ็กต์สามมิติที่มีขนาดใหญ่ ล้วนแต่พึ่งการทำงานของซีพียูเป็นหลัก ดังนั้นแล้วซีพียูที่ใช้ต้องสามารถตอบสนองต่อการประมวลผลที่ซับซ้อนได้ด ีและมีเทคโนโลยีที่รองรับโปรแกรมเฉพาะทางเหล่านี้ได้ด้วยซึ่งซีพียูที่รอง รับการทำงานได้ดีในด้านนี้มีให้เลือกด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Intel Core 2Quad หรือ AMD Phenom ที่เป็นแบบ Quad Core ที่เพิ่งวางจำหน่ายช่วงปลายปี 2550 มานี้ ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้
Intel Core 2 Extreme 9650:3.00GHz,12MB L2 1333MHz bus,Socket 775
Intel Core 2 Quad Q6600:2.40GHz,2MBx4L21066MHz bus, Socket 775 ราคาประมาณ 9,690 บาท
AMD Phenom X4 9500 Quad Core :2.20GHz,512KBx4 L2,Socket AM2+ราคาประมาณ 6,900 บาท

ผู้ที่ชอบความเงียบของไร้เสียงรบกวน
ผู้ใช้กลุ่มนี้ จะเน้นการทำงานในระดับกลาง สำหรับการชมภาพยนตร์ในแบบโฮมเธียเตอร์และเพียงพอสำหรับการเล่นมีเดียไฟล์ คุณภาพสูง (Hi-Def) กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันมากทีเดียว ด้วยรูปแบบของซีพียูที่กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำจึงทำให้ออกแบบการระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการใช้พัดลมน้อยลงเกิดเสียงดังรบกวนที่น้อยเนื่องจากมีเทคโนโลยี Enhance SpeedStep หรือ Cool”n  Quietจึงลดความร้อนในการทำงานลง สามารถใช้ในเคสคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้อีกด้วย ซีพียูที่น่าสนใจมีด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Athlon X2 BE2xxx Series หรือซีพียูรุ่นใหม่จากอินเทลในแบบ 45nm ก็ตาม
     Intel Processor
     AMD Processor
Processor Code Processor Code
Celeron D 3xx/ 4xx Sempron64 LE11xx
Pentium 4 5xx/ 6xx Athlon64 LE16xx
Pentium Dual Core E2xxx Athlon64/ AthlonX2 X23000-6000+/ BE16xx
Core 2 Duo E4xxx/ E6xxx AthlonFX/ Optreon FX-xx/ 1xx, 2xx, 4xx, 6xx
Core 2 Extreme/ Core 2 Quard QX6xxx/ Q6xxx
ตรวจสอบความถูกต้องของซีพียูง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง
  • ดูจาก Properties ด้วยการคลิกขวาที่ My Computer จะบอกรุ่นซีพียูไว้ที่หน้าต่าง General
  • ใช้โปรแกรม CPUz  ซึ่งจะบอกรายละเอียดของซีพียูได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว แคช ฟีเจอร์
องค์ประกอบและเงื่อนไขในการรับประกัน
การรับประกันเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ทีเดียว โดยเฉพาะกับซีพียูที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวและมีราคาที่สูง หากเกินความเสียหายหรือมีอาการผิดปกติขึ้นในระหว่างการใช้งานส่วนของการ รับประกันจะจำเป็นมากทีเดียว โดยส่วนใหญ่การรับประกันจะมีตั้งแต่ 1-5 ปี ขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายแต่ละรายกำหนดไว้ ซึ่งสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตามการประกันก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้จำหน่ายด้วย โดยส่วนใหญ่ที่เป็นมาตรฐานก็คือไม่แตกหักเสียหาย ด้วยกายภาพภายนอกหรือไม่เกิดจากการไหม้หรือระเบิด รวมไปถึงบางรายจำเป็นต้องนำอุปกรณ์ต่างๆในกล่องมายืนยันด้วยอันประกอบไปด้วย การ์ดรับประกัน พัดลมและตัวซีพียู แต่ในบางครั้งก็ใช้เพียงซีพียูและ Serial Number มายืนยันเท่านั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จำหน่าย