วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์

ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันบนพีซีทั่วไปนั้น แบ่งเป็น 2 แบบคือ IDE หรือ (E-IDE) และ SATA ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีรูปแบบและอินเทอร์เฟชในการติดต่อข้อมูลแตกต่างกันไป แต่ในตลาด ณ เวลานี้ ส่วนใหญ่เราจะเห็นในแบบ SATA และ SATA2 กันมากกว่า โดยที่ฮาร์ดดิสก์ในแบบ IDE ดูจะถูกลดบทบาทลงอย่างมาก เหตุผลมาจากที่แมนบอร์ดในปัจจุบันมีพอร์ตสำหรับ IDE เพียงช่องเดียว ซึ่งต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัว แต่ตัวหนึ่งก็ถูกใช้กับออฟติคอลไดรฟ์ไปแล้ว จึงเป็นเรื่องยากในการอัพเกรด ดังนั้นแล้วการใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA จึงเป็นทางเลือกที่ดูคุ้มค่าที่สุด ด้วยความเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนโรงงานจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา การเลือกซื้อจึงควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ
ความจุของฮาร์ดดิสก์
แม้ว่าความจุที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันจะมีมากถึง 1000GB หรือ 1Terabyte การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานและค่าใช้ จ่ายเป็นหลัก เพราะถึงแม้บางครั้ง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูงดูจะคุ้มค่ากว่าความจุที่ต่ำกว่าก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการใช้งานของคุณก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าอยู่ดีโดย ความจุก็มีให้เลือกตั้งแต่ 80/120/160/200/250/320/500/750 และ 1000GB ซึ่งเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
Harddisk
ความเร็วรอบสำคัญไฉน
สำหรับฮาร์ดดิสก์เดสก์ทอปมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 5400rpm/7200rpm และ 10,000rpm ซึ่งที่พบกันมากที่สุดจะเป็นแบบ 7200rpm ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงบและราคาไม่แพง แต่สำหรับ 10,000rpm นั้น ส่วนใหญ่จะพบบนฮาร์ดดิสก์รุ่นพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่องานบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น การเล่นเกม ทำกราฟิกหรืองานตัดต่อ ที่ต้องการความเร็วสูงในการเปิดไฟล์หรือการดึงไฟล์ข้อมูลเพื่อเรนเดอร์ดัง เช่นฮาร์ดดิสก์ Raptor จากค่าย WD หรือ Cheetah จากค่าย Saegate ด้วยความเร็วในการทำงานที่สูง จึงต้องใช้กระบวนการผลิตและวัสดุที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้มีราคาที่แพงพอสมควร
บัฟเฟอร์สำคัญมากเพียงใด
คำตอบคือ สำคัญมากทีเดียว ไม่ใช่เพียงกับการทำงานเฉพาะทางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเล่นเกม มัลติมีเดียและซอฟแวร์พื้นฐานทั่วไปอีกด้วย ด้วยการสำรองข้อมูลบางส่วนในการใช้งานเอาไว้ เพื่อที่จะเรียกใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น และแน่นอนว่ายิ่งบัฟเฟอร์สูงกว่าราคาก็จะกระโดดไปกว่า 20% เลยทีเดียวโดยผู้ใช้ทั่วไปอาจเลือกที่ระดับมาตรฐาน 8MB ก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าหากต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้น สำหรับเกมเมอร์หรือการตัดต่อ อาจเลือกเป็นรุ่น 16MB หรือ 32MB ก็ตอบสนองกับงานในหลายส่วนได้ดีทีเดียว
Average Seek Time
เป็นเวลาในการเข้าถึงข้อมูลโดยเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่ระบุมากับฮาร์ดดิสก์ทุกรุ่น โดยส่วนใหญ่สำหรับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 12-14ms แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงก็จะอยู่ที่ 8ms ตัวเลขดังกล่าวยิ่งน้อยยิ่งหมายถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วขึ้น
อินเทอร์เฟชบนฮาร์ดดิสก์
ในตลาดเวลานี้มีให้เลือก 2 แบบด้วยกันคือ IDE และ SATA (SATA150 และ SATA300) ส่วนนี้ก็คงต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม แม้ว่าในหลายการทดสอบฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มีความเร็วกว่า IDE เพียงไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่าเมนบอร์ดในปัจจุบัน มีพอร์ตสำหรับ IDE น้อยลง ทางเลือกที่เป็น SATA ก็ดูน่าสนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้การสายสัญญาณยังมีขนาดเล็ก จึงทำให้อากาศไหลเวียนภายในเคสได้ดียิ่งขึ้น
SATA
ฮาร์ดดิสก์แบบพิเศษ
นอกจากฮาร์ดดิสก์แบบพื้นฐานที่มีจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยังมีฮาร์ดดิสก์อีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้ผลิตจัดทำออกมาเป็นพิเศษ เพื่องานหรือความต้องการที่แตกต่างออกไป โดยมีตั้งแต่
ฮาร์ดดิสก์ที่มี NCQ หรือที่เรียกว่า Native Command Queuing ซึ่งข้อดีของฮาร์ดดิสก์ที่มีเทคโนโลยีนี้คือ การปรับปรุงการจัดเรียงข้อมูลและการอ่านข้อมูลแบบใหม่ โดยมองชุดข้อมูลที่เป็นแบบเดียวกัน รวมไว้ในจุดเดียวกัน จึงทำให้การอ่านข้อมูลมีความเร็ว ด้วยการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
ฮาร์ดดิสก์ประเภทสวยงาม ในแบบดังกล่าวนี้ Raptor X จากค่าย WD เป็นต้นแบบ ด้วยการผลิตให้ฝาด้านบนนี้ความใส จนมองเห็น Platter และ Spindle หมุนทำงานอยู่ เหมาะสำหรับเกมเมอร์หรือนักแต่งเคสที่ชอบความสวยงามแปลกใหม่แต่ราคาก็มหาโหด เช่นกัน
ฮาร์ดดิสก์สุดอึด ปัจจุบันมีงานหลายส่วนที่มักใช้คอมพ์ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องนี้เอง มีส่วนทำให้อายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์สั้นลง ดังนั้นแล้วจึงมีการออกแบบฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่า Enterprise หรือที่เรียกว่า 24/7 ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความทนทานสูง ใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยมีฮาร์ดดิสก์จาก WD ในรหัส RE และ Seagate Barracuda ES ทำตลาดอยู่
สุดท้ายจะเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะจุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ มีบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่มากถึง 32MB ซึ่งปกติจะมีเพียง 8MB หรือ 16MB เท่านั้น โดยมีในฮาร์ดดิสก์จากค่าย Seagate Barracuda 7200.11 ส่วนเรื่องราคาก็ไม่ถือว่าสูงมากนัก

วิธีตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้อย่างง่ายๆ
สามารถใช้โปรแกรม HD Tune ทดสอบประสิทธิภาพและความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ ด้วยการมอนิเตอร์ให้เห็นอย่างชัดเจน  หรือจะบริหารข้อมูลและไดรฟ์ได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ Manage ของระบบวินโดวส์ ด้วยการเมาส์ขวาที่ My Computer จากนั้นเลือกหัวข้อ Manage

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น